โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Montfort College , คำเมือง: ) เป็นโรงเรียนเอกชน ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตได้แยกที่ตั้งในแผนกประถม และมัธยมคือ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2475 แผนกประถม ตั้งอยู่ที่ ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และ แผนกมัธยมตั้งอยู่ที่ ถนนมงฟอร์ต หมู่บ้านมงฟอร์ตวิลลา ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้รับใบอนุญาตจากสถาบันการทดสอบแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จัดตั้งเป็น โรงเรียนนานาชาติเคมบริดจ์ โดยนักเรียนในแผนการเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้น ม.1-6 จะได้รับการศึกษาในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ตามมาตรฐาน IGCSE และได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานเมื่อจบการศึกษา
ประวัติ
ชื่อเสียงของโรงเรียนอัสสัมชัญพระนครโน้มได้น้าวเด็กนักเรียนจากเชียงใหม่ไปศึกษาที่กรุงเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2453 จนเมื่อนักเรียนเหล่านั้นได้จบการศึกษาและกลายเป็นศิษย์เก่าแล้ว จึงเชิญภราดาไมเคิล และภราดาฟ. ฮีแลร์ ไปเปิดโรงเรียนที่มณฑลพายัพ ประกอบกับ ผู้แทนพระสันตะปาปา เรอเน แปโร ประมุขเขตมิสซังสยามในขณะนั้น และบาทหลวงยอร์ช มีราแบล ดำริว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาจะดีขึ้นหากมีโรงเรียนคาทอลิกช่วยอีกแรง ดังนั้นแล้วจึงเชิญคณะอุร์สุลิน และคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ไปเปิดโรงเรียนชาย และหญิง ที่มณฑลพายัพ
14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญหยุดกลางภาค ภราดาไมเคิล และ ภราดาฟ.ฮีแลร์ พร้อมด้วยอัสสัมชนิกฝ่ายเหนือ โดยสารรถไฟด่วนขึ้นยัง ลำปาง, เชียงใหม่ ตลอดจน เชียงรายและเชียงแสน เพื่อหาดูทำเลที่เหมาะสมแก่การตั้งโรงเรียน ในที่สุดคณะอุร์สุลินได้ตั้งโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัยขึ้น ส่วนคณะภราดาเซนต์คาเบรียลได้ตั้งโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2475 โดยใช้ที่ดินที่บาทหลวงยอร์ช มีราแบล ซื้อไว้นานแล้วจากหลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา) บริเวณถนนเจริญประเทศ แปลงหนึ่งขนาด 12 ไร่ติดแม่น้ำปิงมอบให้โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แต่การสร้างโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเสร็จล่าช้ากว่าโรงเรียนพระหฤทัยและเรยีนา ราวครึ่งปี
โรงเรียนมงฟอร์ตทำการเปิดสอนครั้งแรก ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 โดยมีภราดาซิเมออน ริโตล เป็นอธิการคนแรก และมีภราดาแอมบรอซิโอ เป็นรองอธิการ โดยระหว่างเปิดสอนขณะนั้น มีนักเรียนเพียง 22 คน โดยอาศัยเรือนไม้ข้างโบสถ์พระหฤทัย(หลังเก่า)เป็นห้องเรียนชั่วคราว
เมื่ออาคารมงฟอร์ต และอาคารอำนวยการแล้วเสร็จ นักเรียนมงฟอร์ตรุ่นแรก จึงย้ายจากวัดพระหฤทัยเข้ามาเรียนในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2476 จากนั้นนักเรียนจึงเพิ่มขึ้นเป็น 116 คน โดยการเรียนการสอนในช่วงแรกๆ เนื่องจากชั้นหนึ่ง มีนักเรียนไม่มากนัก การเรียนการสอนจึงสอนอย่างสบายๆ กวดขันใกล้ชิด ดังนั้นแล้วนักเรียนในสมัยนั้นจะสามารถพูดภาษาอังกฤษตอบโต้ได้เป็นอย่างดี
ในสมัยของภราดาปีเตอร์ดำรงตำแหน่งอธิการ สงครามโลกครั้งที่สอง ได้อุบัติขึ้น ส่งผลให้การศึกษาต้องหยุดชะงัก จังหวัดได้ประกาศปิดโรงเรียนทุกแห่งในเชียงใหม่ และมีทหารสื่อสาร และทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานมาใช้พื้นที่โรงเรียนนานเกือบเดือน ก่อนที่จะย้ายไปทุ่งช้างคลาน ด้วยภาวะสงครามและเศรษฐกิจตกต่ำ เมื่อราชการประกาศให้เปิดโรงเรียน จึงมีนักเรียนเหลือน้อยมาก ภราดาปีเตอร์ได้พยายามทำทุกวีถีทางเพื่อให้โรงเรียนก้าวหน้าต่อไปได้ ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2478 ภราดาเกลเมนต์ (บุญมี เกิดสว่าง) ได้ยื่นคำขอต่อกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ แต่เนื่องจากภาวะสงครามจึงถูกเพิกเฉย ต่อมาภราดาเซราฟิน ได้ยื่นคำร้องนี้อีกครั้ง เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2489 คำร้องได้รับการพิจารณา พร้อมด้วยมีการตรวจโรงเรียน ทำให้โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2589 ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2490 และสามปีต่อมาได้เริ่มเปิดแผนกมัธยม ด้วยนักเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นเอยๆจนโรงเรียนเดิมไม่สามารถรับนักเรียนได้ไหว จึงไปตั้งแผนกประถมที่ถนนช้างคลาน (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิรวิทย์ ฝ่ายประถม) ในปี พ.ศ. 2513
ต่อมาเมื่อโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องย้ายแผนกมัธยมจากเดิมที่ถนนเจริญประเทศ ไปตั้งใหม่ยังถนนมหิดล ตำบลท่าศาลา บริเวณใกล้ ๆ กับโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย ในพื้นที่ 52 ไร่ โดยเริ่มเปิดทำการศึกษาแผนกมัธยมในบริเวณใหม่ในปี พ.ศ. 2528 และย้ายแผนกประถมกลับมายังถนนเจริญประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของแผนกมัธยมเดิม
สถาบันดนตรี
ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนมงฟอร์ตและสถาบันดนตรีลอสแอนเจลิส (อังกฤษ: Los Angelis Music Acedemy, LAMA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมจัดตั้ง สถาบันดนตรีมงฟอร์ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Montfort College Music Acedemy, MCMA) ซึ่งเป็นสถาบันดนตรีมาตรฐานสากลที่เปิดสอนแก่บุคคลทั่วไปโดยมุ่งเน้นผลิตนักดนตรีอาชีพแก่วงการดนตรี ซึ่งมีการเรียนการสอนดนตรีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้ยกเลิกสัญญากับสถาบันดนตรี LACM แต่ยังคงจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ สถาบันดนตรีมงฟอร์ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Montfort College Music Acedemy, MCMA) นอกเวลาเรียนให้กับบุคคลทั่วไปอยู่ ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียน
ความสำเร็จ
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยนับว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการและด้านกิจกรรม (ดนตรี/กีฬา) ในจังหวัดเชียงใหม่ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผลงานทางวิชาการและกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศและระดับโลกมาแล้วมากมายดังตัวอย่าง
เพลงโรงเรียน
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเป็นหนึ่งในไม่กี่โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่ไม่ได้ใช้เพลงสดุดีอัสสัมชัญเป็นเพลงประจำโรงเรียน เนื่องจากชื่อโรงเรียนไม่ได้ชื่อว่า "อัสสัมชัญ" เหมือนโรงเรียนอื่น ๆ ปัจจุบันเพลงประจำโรงเรียนคือเพลงมาร์ชมงฟอร์ต ซึ่งมีสองแบบคือแบบภาษาไทย (เพลงมาร์ชมงฟอร์ต) และภาษาอังกฤษ (เพลง Come Cheer) ทั้งสองแบบประพันธ์โดย ภราดาอนุรักษ์ ศรีวาทยากร นอกจากนั้นปัจจุบันโรงเรียนยังได้รับเพลง "สดุดีอัสสัมชัญ" มาใช้ในการประกวดผู้นำเชียร์ของโรงเรียน โดยได้ดัดแปลงเป็นเพลงใหม่ที่เข้ากับโรงเรียนมงฟอร์ต และตั้งชื่อใหม่เป็นเพลง "เกียรติศักดิ์ MC" ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้นำบูมโรงเรียนมาใช้อีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น